กิจกรรมและสื่อเทคโนโลยี 2 ภาษา

การสอนด้วยกิจกรรมและสื่อเทคโนโลยี 2 ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

ในปัจจุบันการพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษา ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบสำหรับเด็กที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว โดยเฉพาะในโลกยุคดิจิทัล มีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้นที่ได้สนับสนุนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 8 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่สมองพัฒนาเต็มที่ เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็วดีกว่าเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นหลายครอบครัวที่มีเด็กเล็ก จึงเริ่มหันมาสนใจการสอนให้ลูกเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

เด็กที่อยู่ในสภาวะสองภาษา คือ เด็กที่สามารถใช้การสื่อสารสองภาษาได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เรียนรู้ภาษาแม่ หรือภาษาที่หนึ่งตามธรรมชาติ และเรียนรู้ภาษาที่สองในภายหลัง หรือเด็กที่เรียนรู้ทั้งสองภาษามาตั้งแต่เกิด ซึ่งเราสามารถส่งเสริมให้เด็กๆ เรียนรู้สองภาษาได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับครอบครัวหรือเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ในห้องเรียน สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครู ควรคำนึงถึง การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมในภาษาที่ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ มีหนังสือภาพ หนังสือคำศัพท์ หนังสือนิทาน ที่เด็กๆ สามารถเปิดอ่านได้เอง หรือเล่าให้ฟังภายในครอบครัว ในห้องเรียนกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ดี ควรเป็นกิจกรรมที่สนุก กระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นสื่อสารด้วยความเข้าใจ มากกว่ามุ่งเน้นเรื่องไวยากรณ์ ประเภทของหนังสือ หรือกิจกรรมควรเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก รูปแบบการเรียนรู้ในกิจกรรมอาจจะเป็น คำซ้ำ ย้ำทวนในเนื้อหาเดิมแต่เปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมใหม่ เช่น เรียนรู้คำว่า Cat จากการวาดภาพ การปั้น เพลง หรือนิทาน เป็นต้น

นอกจากการจัดสภาพแวดล้อม การใช้สื่อจากนิทาน บัตรภาพ บัตรคำแล้ว ในยุคสมัยนี้สิ่งที่กระตุ้นการเรียนรู้เด็กได้ดี และสอดคล้องเหมาะสมกับโลกยุคปัจจุบันคือ การใช้สื่อ Augmented Reality Book หรือ ARBOOK ซึ่งเป็นสื่อเสมือนจริง ที่กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างสนุกสนาน ผ่านเทคโนโลยี เด็กๆ สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง ประกอบคำอธิบายที่เป็นสองภาษา หรือการใช้ Application ต่างๆ ในมือถือ แท็บเล็ต จะทำให้เด็กเรียนรู้ และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เด็กสนุกและไม่น่าเบื่อ เป็นตัวช่วยพ่อแม่ คุณครูในโรงเรียนได้อย่างดี สำหรับการนำสื่อเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาใช้กับการจัดกิจกรรมสองภาษา ควรกระตุ้นในเด็กตั้งแต่ยังเล็ก และสิ่งที่ควรพิจารณาในการจัดกิจกรรม มีดังนี้

กิจกรรมและสื่อเทคโนโลยี 2 ภาษา

1. ช่วงอายุที่เหมาะสม แนะนำสำหรับเด็กที่อายุมากกว่าสองขวบขึ้นไป สามารถดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวันภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง หรือครู

2. เนื้อหาของสื่อ และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เนื้อหาของสื่อสำหรับเด็กควรถูกคัดเลือกโดยครู หรือพ่อแม่ ให้เหมาะสมตามวัย และตามความสามารถในการเรียนรู้ด้านภาษาของเด็ก ซึ่งในปัจจุบัน มีหนังสือ ARBOOKS ที่ส่งเสริมด้านสองภาษาจัดทำออกมามากมาย เด็กๆ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากการทำกิจกรรมใน Application ที่มีอยู่ในมือถือ หรือ แท็บเล็ต ซึ่งผ่านการคัดกรองโดยครู หรือผู้ปกครอง สำหรับเนื้อหาที่แนะนำ อาจเป็นเพลงที่ใช้คำซ้ำง่ายๆ นิทานที่มีคำศัพท์ที่เหมาะสมตามพัฒนาการทางภาษา หนังสือเสริมความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ เช่น Number 1-10 ,Shape, Color , ABC เป็นต้น

3. การมีปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ทำกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญ เด็กเล็กต้องการกำลังใจ การพูดเสริมแนะนำด้วยถ้อยคำที่อบอุ่น เรียนรู้ไปด้วยกันระหว่างครอบครัว หรือภายในกลุ่มที่ทำกิจกรรมร่วมกันในห้องเรียน คำศัพท์ง่ายๆ ที่ผู้ปกครอง หรือครูสามารถเลือกนำมาใช้ได้อย่างกลมกลืนในขณะที่ทำกิจกรรม เช่น What did you do? ,What do you want to watch? เป็นต้น

การสร้างเด็กสองภาษาด้วยสื่อหรือเทคนิคกิจกรรมต่างๆ ไม่ใช่เรื่องยาก พ่อแม่ หรือคุณครูสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็กได้ สิ่งสำคัญ คือความสนุกที่จะเรียนรู้ภายใต้สื่อต่างๆ มากมายที่เหมาะสมตามวัย ซึ่งบุคคลสำคัญที่สามารถคัดกรองสื่อ และเรียนรู้ร่วมกันกับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผู้ใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแรงสำคัญที่จะกระตุ้นให้เด็กอยากการเรียนรู้ หรือบีบคั้นเด็กจนไม่อยากจะเรียนรู้

และโปรดอย่าลืม ว่าการเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการของเด็กเอง จะเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับการสร้างแรงบันดาลใจ เป็นแรงผลักดันให้เด็กอยากเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นอกเหนือจากภาษาแม่ของตัวเอง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ ufatfg.com

UFA Slot

Releated