การติดโซเชียลมีเดีย

อาการที่มาจากการติดโซเชียลมีเดีย

ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารกันผ่านทาง เฟซบุ๊ก ไลน์ ฯลฯ ผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และโน้ตบุ๊กที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน นอกจากความทันสมัย และรวดเร็วในด้านข้อมูลข่าวสารแล้ว ยังมีภัยสำหรับคนคลั่งแชทที่อาจเกิดกับคุณอยู่ตอนนี้ก็ได้ ไปดูว่ามีโรคอะไรกันบ้าง

1. โรคเศร้าจากเฟซบุ๊ก
การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน นำโดยศาสตราจารย์ อีธาน ครอสส์ ได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 82 คน ซึ่งใช้บริการเฟซบุ๊กบนสมาร์ทโฟนเป็นประจำ พบว่าการใช้เฟซบุ๊กมากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขและความพึงพอใจในการดำรงชีวิตของตนเอง เช่น โดดเดี่ยว เศร้า และเหงาหงอยมากขึ้น

ทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ก็ใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรู้สึกว้าเหว่ สอดคล้องกับงานวิจัยจากเยอรมนี ที่พบว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เฟซบุ๊ก มีทัศนคติต่อตัวเองในแง่ลบ เนื่องจากเห็นการอัพเดตสถานะของเพื่อน ทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัวที่มีแต่ความสำเร็จและความสุข ใครที่กำลังเริ่มหดหู่ เศร้า ควรเริ่มออกห่างจากเฟซบุ๊กโดยด่วน

2. ละเมอแชท (Sleep-Texting)
ถือเป็นโรคใหม่ที่เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนอีกเช่นกัน และโรคนี้ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะสามารถตามไปหลอกหลอนหรือป่วน แม้กระทั่งตอนที่คุณเข้านอนแล้ว เราสามารถเรียกโรคนี้ ให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า อาการติดแชทแม้ขณะนั้นตัวเองกำลังหลับอยู่

การศึกษาในต่างประเทศพบว่า Sleep-Texting เป็นอาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์ข้อความแชทในมือถือของผู้ที่เข้าขั้น “ติด” ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นในขณะหลับ และเมื่อได้ยินเสียงข้อความส่งมา ร่างกายและระบบประสาทจะตอบสนองด้วยการหยิบมือถือมาแล้วพิมพ์ข้อความตอบกลับไปในทันที ซึ่งผู้ใช้จะอยู่ในสภาวะ กึ่งหลับกึ่งตื่น เป็นเหตุให้เมื่อตื่นขึ้นมาจะจำอะไรไม่ได้ว่าทำอะไรหรือพิมพ์อะไรไปบ้าง และข้อความนั้นก็เป็นข้อความที่ไม่สามารถจับใจความได้ และปัญหาที่ตามมาก็คือ ร่างกายที่อ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า และอาจส่งผลกระทบในการเรียนหรือ การทำงานด้วย

ด้วยเหตุนี้ หากสื่อโซเชียลต่างๆ ก็ควรทำแต่พอดี แต่หากคุณติดงอมแงมก็ควรตัดใจปิดมือถือ ปิดเสียง หรือปิดสัญญาณ WiFi และ 3G 4G ไปเลยก่อนนอนเพื่อเพิ่มการพักผ่อนที่เต็มที่

3. โรควุ้นในตาเสื่อม
สำหรับบางคนอาจจะต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละหลาย ๆ ชั่วโมง และบางคนก็จ้องแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนไม่วางตาจากการทำงาน เล่นอินเทอร์เน็ต แชท หรือเล่นเกม อาจทำให้เกิดโรควุ้นในตาเสื่อมได้ ทั้งนี้ จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า มีผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วกว่า 14 ล้านคน

โรคนี้เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป โดยปกติแล้วในสมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากแล้วจะพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และไม่จำกัดช่วงอายุวัย อาการสำคัญคือเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำ ๆ คล้ายหยากไย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ที่เป็นพื้นที่สีสว่าง ๆ เช่น ท้องฟ้าขาว ๆ ผนังห้องขาว ๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด

ให้พักสายตาโดยการหลับตา แล้วกรอกตาไปมา ซ้าย ขวา บน ล่าง และหลับให้นิ่งประมาณ 5 นาที อย่าลืมออกไปสูดอากาศผ่อนคลาย และมองดูอะไรเขียว ๆ ซึ่งได้ผลถึง 70% เลยทีเดียว

การติดโซเชียลมีเดีย

4. โนโมโฟเบีย (Nomophobia)
เป็นโรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงความเครียดเมื่อมือถืออยู่ในจุดอับสัญญาณจนติดต่อใครไม่ได้ Nomophobia มาจากคำว่า “no-mobile-phone phobia” ซึ่งจัดเป็นโรคกลัวทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ

อาการโดยทั่วไปที่สามารถเช็คได้ง่าย ๆ ว่าคุณเข้าขั้นเป็นโรคนี้หรือเปล่าก็คือ เกิดอาการเครียด วิตกกังวล ตัวสั่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้เมื่อไม่มีโทรศัพท์ อยู่ในจุดอับสัญญาณ หรือแบตเตอรี่หมด นอกจากนี้ยังแสดงอาการด้วยการหยิบสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ขึ้นมาเช็คอยู่ตลอดเวลา ติดการส่งข้อความและการโพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ว่างไม่ได้ สเตตัส เช็กอิน โพสต์รูป ฯลฯ ต้องมีให้เห็น ที่สำคัญไม่เคยปิดมือถือเลยเพราะกลัวพลาดการอัพเดทเรื่องราวต่าง ๆ

ในปัจจุบัน จากการสำรวจของทั่วโลกพบว่ามีคนเป็นโรคนี้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย วัยรุ่น วัยทำงาน จะเป็นมากกว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่งในคนไทยประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มเยาวชนจะติดมือถือ และชอบเล่นไลน์ หรือเฟซบุ๊ก และถ้าหากเป็นมากก็คงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

5. สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)
สมาร์ทโฟนเฟซ หรือโรคใบหน้าสมาร์ทโฟน แต่เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมากจนเกินไป เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้าทำให้แก้มบริเวณกรามเกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะการนั่งก้มหน้ามองสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอและเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา และจะเห็นชัดเจนเมื่อถ่ายภาพด้วยตัวเอง

วิธีแก้อาการติดโซเชียลมีเดีย

1. ต้องยอมรับว่าตัวเองติดซะก่อน ถ้ารู้ตัวว่าเป็นคนที่ต้องคอยเข้าเว็บพวกนี้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จงรู้ตัวไว้เถอะว่าคุณติดโซเชียลมีเดียเข้าซะแล้ว

2. จำกัดเวลาเล่น จะเล่นวันละกี่ชั่วโมงก็ว่าไป โดยค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสมเพียงเท่านี้ก็จะไม่ติดอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทั้งวันอย่างเมื่อก่อนแล้วล่ะ

3. หางานอดิเรกใหม่ ๆ ทำ เพื่อเบนความสนใจของตัวเองเสียหน่อย ก็ควรมองหางานอดิเรกใหม่ ๆ ออกกำลังกาย ทำสวน อ่านหนังสือ อาจช่วยให้คุณเพลินจนลืมท่องโซเชียลมีเดียไปเลยก็ได้

4. อย่าจดจ่อมากนัก

จะเห็นได้ว่า โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนกับดาบสองคม หากคุณไม่จำกัดการเล่นให้เหมาะสม หรือหมกมุ่นกับมันมากเกินไป คุณก็จะทุกข์ใจมากกว่ามีความสุข นอกจากจะจำกัดการเล่นแล้ว คุณก็อย่าลืมหันมาสนใจคนรอบข้างในชีวิตจริงบ้าง

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ ufatfg.com

Releated